วันอังคารที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2557

ลักษณะแป้นพิมพ์ (แป้นพิมพ์แบบปัตโชติ และแป้นพิมพ์แบบเกษมณี)

     แป้นพิมพ์หรือคีย์บอร์ด   เป็นอุปกรณ์สำหรับนำเข้าข้อมูลของคอมพิวเตอร์   ทำหน้าที่เชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์  โดยส่งคำสั่งหรือข้อมูลจากผู้ใช้ไปสู่หน่วยประมวลผลเพื่อประมวลผล เมื่อกดแป้นพิมพ์แป้นอักษรที่ถูกกดจะเปลี่ยนสัญญาณไฟฟ้าเป็นตัวอักษร  ตัวเลข  หรือสัญลักษณ์เพื่อแสดงผลบนจอภาพ
รูปแบบของแป้นพิมพ์  Keyboard

วิวัฒนาการของแป้นพิมพ์

 แป้นพิมพ์  (Key board) มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าประกอบด้วยตัวอักขระ  ตัวเลข และสัญลักษณ์ต่าง ๆ  คล้ายกับแป้นตัวอักษรบนเครื่องพิมพ์ดีด   แป้นพิมพ์ใน รุ่นแรก ๆ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524  จะมีทั้งหมด  83  คีย์  ต่อมาปี พ.ศ. 2527  จัดตำแหน่งให้เหมาะสมยิ่งขึ้นมีจำนวนแป้น รวม 84  แป้น  และในเวลาต่อมาบริษัทไอบีเอ็มได้ปรับปรุงแป้นอักขระใหม่เป็น 101 คีย์ และปัจจุบันได้พัฒนาเป็น 104 คีย์   เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ระบบปฏิบัติการวินโดวส์
          เครื่องโน้ตบุ๊กจะมีการวางแป้นอักขระต่างจากแป้นพิมพ์ของเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์  คือจะวางติดอยู่กับเครื่องเลยไม่มีลักษณะแยกเป็นชิ้น ๆ และจำนวนแป้นกดก็มีจำนวนน้อยกว่า


การจัดวางแป้นพิมพ์
            การจัดวางตำแหน่งแป้นอักขระแป้นพิมพ์คอมพิวเตอร์แบบมาตรฐาน  จะจัดวางตามมาตรฐานของระบบพิมพ์สัมผัสของเครื่องพิมพ์ดีด  มีการใช้ยกแคร่   กด (Shift)  เพื่อใช้พิมพ์ตัวอักขระภาษาอังกฤษทั้งตัวพิมพ์ใหญ่และตัว พิมพ์เล็ก  ซึ่งจะมีการกำหนดให้แป้นพิเศษแป้นหนึ่งทำหน้าที่สลับเปลี่ยนโหมดการพิมพ์อักขระภาษาอังกฤษและภาษาไทย
          แป้นพิมพ์คอมพิวเตอร์แบบมาตรฐานทั่วไปจะมีการวางตำแหน่งของแป้นกดตามมาตรฐานของแต่ละประเทศ  สำหรับประเทศไทยได้มีการใช้รูปแบบแป้นพิมพ์ตามมาตรฐานของประเทศไทย ซึ่งมีอยู่ 2 แบบ คือ แป้นพิมพ์แบบปัตโชติ  และแป้นพิมพ์แบบเกษมณี


แป้นพิมพ์แบบปัตตะโชติ







แป้นพิมพ์แบบเกษมณี





ส่วนประกอบของแป้นพิมพ์
แป้นพิมพ์  (Keyboard)   ที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันมีมากหมายหลายรูปแบบผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ต่างก็พยายามออกแบบแป้นพิมพ์ที่มีรูปร่าง  แบบหรือสไตล์ที่ทันสมัย   แต่อย่างไรการออกแบบและการวางตำแหน่งของแป้นอักขระก็ยึดหลักการของแป้นพิมพ์มาตรฐานแบบ  104 คีย์   แป้นพิมพ์มาตรฐาน  แบบ 104 คีย์   แบ่งแป้นกดหรือคีย์ออกเป็น 5 กลุ่ม  คือ
1.  กลุ่มแป้นอักขระพิมพ์ดีด   เป็นแป้นกดหรือคีย์ที่ใช้สำหรับพิมพ์ตัวอักษร  ตัวเลข  เครื่องหมาย วรรคตอน และสัญลักษณ์พิเศษ  การวางตำแหน่งของแป้นตัวอักขระพิมพ์ดีดจะวางตามแบบมาตรฐาน  ได้แก่
 แป้นอักษร A-Z      แป้นเครื่องหมายวรรคตอน         แป้นสัญลักษณ์  แป้น Shift   
แป้น Caps Lock   แป้น Tab   แป้น  Enter  แป้น Backspace      
  2.  กลุ่มแป้นควบคุม   คือ แป้นกดที่ใช้ควบคุมการทำงานของโปรแกรม  (Soft ware)      มีดังนี้               แป้น Home             แป้น  Page Down               แป้น Ctrl
แป้น   End               แป้น  Page Up                   แป้น  Alt
แป้น   Insert            แป้น  Delete             แป้น  Esc
3.  กลุ่มแป้นกำหนดการทำงานพิเศษ   เป็นแป้นที่กำหนดขึ้นพิเศษ  จำนวน 12 คีย์
ได้แก่  F1 ….. F12
 4.  กลุ่มแป้นเลื่อนตำแหน่งของ เคอร์เซอร์   แป้นลูกศร  4  อัน  เพื่อใช้เลื่อนเคอร์เซอร์ หรือตัวบอกตำแหน่งการพิมพ์
5.  กลุ่มแป้นเฉพาะตัวเลข    เป็นกลุ่มของคีย์ที่อยู่ทางด้านขวามือแป้นพิมพ์  ซึ่งบรรจุตัวเลข 0 9  และจุดทศนิยม  การจัดวางตำแหน่งของคีย์จะมีลักษณะคล้ายกับแป้นกดของเครื่องบวกเลข   ซึ่งขึ้นอยู่กับโหมดการทำงานของแป้น  Num  Lock   ถ้าแป้น Num  Lock  ถูกกด ON  ไฟแสดงสถานะ  (สีเหลือง)  จะสว่าง   แต่ถ้าไฟสถานะดับ  OFF   จะหมายถึงอยู่ในโหมดของการเลื่อนตำแหน่งของเคอร์เซอร์  โดยการเลื่อนตำแหน่งจะสัมพันธ์กับเครื่องหมายลูกศร  (Arrow ) ที่กำกับอยู่บนแป้นกดนั้น ๆ 





ผังของแป้นพิมพ์
หน้าที่แต่ละแป้นพิมพ์
          แป้นพิมพ์มาตรฐาน  104 คีย์  ที่นิยมใช้กันโดยทั่วไปมีการออกแบบและจัดวางตำแหน่งของแป้นกดออกเป็น  5  กลุ่ม   ซึ่งแต่ละคีย์จะมีหน้าที่  ดังต่อไปนี้
          1.  แป้น Ese ใช้ยกเลิกงานที่กำลังทำอยู่ในขณะนี่ เช่น  ออกจากคำสั่ง  เมนูไดอะล็อกบ๊อกซ์  หรือโปรแกรม
2.  แป้น Caps  Lock   และแป้น  Shift   เป็นแป้นที่ใช้พิมพ์ตัวอักษรชุดที่สองของแป้นอักษรนั้นเหมือนกับการยกแคร่ในเครื่องพิมพ์ดีด  ทำได้โดยการกดแป้น Shift  ค้างไว้พร้อมกับกดแป้นอักษร   ส่วนแป้น Caps  Lock   เมื่อกดแป้นเพียงครั้งเดียวจะค้างไว้ตลอด  ถ้าต้องการยกเลิกให้กดซ้ำอีกครั้ง  มีการทำงาน 2 สถานะ คือ เปิด (ON)  และถ้ากดซ้ำอีกครั้ง (OFF)  ไฟสถานะจะดับ    
3.  แป้น Nom Lock   เป็นแป้นที่ใช้เป็นสวิตซ์  การทำงานของแป้นเฉพาะตัวเลข   มีการทำงาน 2 สถานะ คือ เปิด (ON)  และปิด (OFF)
4.  แป้น  Spacebar   หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า คานเว้นวรรค  ใช้สำหรับกำหนดช่องว่างระหว่างตัวอักษร หรือเว้นวรรคตัวอักษร   
5.  แป้น  Delete  เป็นแป้นที่ใช้ลบตัวอักขระที่อยู่ทางด้านขวาของเคอร์เซอร์    ถ้ากดแป้น Delete  นานเท่าดา    ตัวอักขระก็จะถูกลบออกไปมากเท่านั้น
6.  แป้น Backspace   แป้นพิมพ์คอมพิวเตอร์โดยทั่วไปจะมีแป้นกด ที่ใช้ลบตัวอักขระอยู่ 2 แป้น คือ  Delete และ  แป้น Backspace   แป้น Backspace  ใช้ลบตัวอักขระที่อยู่ทางด้านซ้ายของเคอร์เซอร์   ถ้ากดแป้น Backspace นานเท่าใด  ตัวอักขระก็จะถูกลบออกไปมากเท่านั้น   (แป้นพิมพ์บางยี่ห้อจะไม่พิมพ์คำว่า Backspace แต่จะใช้สัญลักษณ์ลูกศรชี้ไปทางซ้าย )
7.  แป้น Ctrl  และแป้น ALT    เป็นแป้นพิเศษที่ใช้ร่วมกับแป้นอักษรอื่นเพื่อเรียกใช้คำสั่งลัด  เช่น  ถ้าต้องการบันทึกแฟ้มข้อมูลเพื่อเก็บลงในดิสก์ จะต้องกดแป้น  Ctrl  และแป้นอักษร S
8.  แป้น Enter  เป็นแป้นที่สามารถบอกให้เครื่องคอมพิวเตอร์รับเอาข้อมูลและงานต่าง ๆ ของเราเข้าไปประมวลผลในหน่วยประมวลผลกลาง  ถ้าเรากดแป้น  Enter  จะเป็นการเพิ่มบรรทัดหรือการขึ้นย่อหน้าใหม่
9.  แป้น  Arrow   หรือ แป้นลูกศรใช้สำหรับเลื่อนตำแหน่งของเคอร์เซอร์  ไปยังตำแหน่งต่าง ๆ บนหน้าจอ
10. แป้น Function  โดยปกติจะมีหมายเลขจาก 1 ถึง 12  ( F1  …. F12 )  เป็นแป้นที่ใช้กำหนดหน้าที่การทำงาน เช่น F1  ในโปรแกรมส่วนใหญ่จะกำหนดให้เป็นแป้นสำหรับของความช่วยเหลือ  โดยโปรแกรมจะสร้างข้อความเพื่อช่วยเหลือในการทำงาน    
 11.  แป้น Window  เป็นแป้นที่มีสัญลักษณ์  โลโก้ของวินโดวส์พิมพ์กำกับอยู่บนแป้นวินโดวส์  ใช้สำหรับเปิด หรือเรียกใช้งานเมนู Start  ในโปรแกรม Window ขึ้นมาใช้งานอย่างรวดเร็วแทนที่จะใช้เมาส์เลื่อนไปคลิกปุ่ม  Start ที่อยู่มุมซ้ายด้านล้างของจอภาพ
12.  แป้น Application  เป็นแป้นที่ใช้สำหรับเรียกคำสั่งลัดในโปรแกรม Window ขึ้นมาแสดงบนจอภาพอย่างรวดเร็วแทนที่จะคลิกขวาเพื่อเรียกใช้คำสั่งลัด  แป้น Application   มักจะมีตำแหน่งอยู่ทางด้านขวาของแป้น Space Bar  
13.  ปุ่ม Programmable  แป้นพิมพ์คอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ ๆ ในปัจจุบันจะมีปุ่ม Programmable  เพื่อให้ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์เรียกใช้งานหรือคำสั่งตามโปรแกรมที่ระบุได้โดยตรงและรวดเร็ว  เช่น  Internet  จะใช้ในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต   แป้น Mail  จะใช้ในการรับ ส่งอีเมล์   แป้น Music  จะใช้สำหรับฟังเพลงเป็นต้น









  เว็บไซต์แรกของโลกและผู้คิดและพัฒนาระบบ

กล่องข้อความ: นางสาว ณัฐธญา  ชัยชนะ เลขที่ 4 คอมพิวเตอร์ธุรกิจ          เว็บไซต์แรกของโลก คือ http://info.cern.ch เปิดตัวครั้งแรกบนโลกไซเบอร์เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2534 สร้างโดย เซอร์ทิโมที จอห์น เบอร์เนิร์ส-ลี (Sir Timothy John Berners-Lee, OM, KBE, FRS, FREng, FRSA) หรือที่เรารู้จักในนาม ทิม เบอร์เนิร์ส-ลี ผู้คิดและพัฒนาระบบ เวิลด์ไวด์เว็บ (WorldWideWeb) เป็นคนแรกของโลก




  
     ทิม เบอร์เนิร์ส-ลี เกิดในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เป็นบุตรของนายคอนเวย์ เบอร์เนิร์ส-ลี และนางแมรี ลี วูดส์ ซึ่งทั้งสองคนนี้เป็นนักคณิตศาสตร์ ผู้อยู่ในทีมสร้างคอมพิวเตอร์ "แมนเชสเตอร์ มาร์ก 1" คอมพิวเตอร์ยุคแรกของโลก

ระหว่างเดือนมิถุนายน ธันวาคม พ.ศ. 2523 เป็นช่วงที่ ทิม เบอร์เนิร์ส-ลี ได้ทำงานเป็น Freeland อยู่ที่เซิร์น (Cern) ได้เสนอโครงการ ข้อความหลายมิติ (Hypertext) ขึ้นเพื่อใช้ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างนักวิจัยด้วยกัน และมีการเริ่มสร้างระบบต้นแบบไว้แล้ว โดยใช้ชื่อว่า ENQUIRE

เมื่อถึง พ.ศ. 2532 เซิร์นได้กลายเป็นศูนย์อินเทอร์เน็ตที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป และเบอร์เนิร์ส-ลีได้เล็งเห็นโอกาสในการใช้ "ข้อความหลายมิติ" ผนวกเข้ากับอินเทอร์เน็ต เบอร์เนิร์ส-ลีเขียนไว้ในข้อเสนอโครงการของเขาว่า "...ผมเพียงเอาความคิดเรื่องข้อความหลายมิตินี้เชื่อมต่อเข้ากับความคิด "ทีซีพี" และ "DNS" และเท่านั้นก็จะได้ "เวิลด์ไวด์เว็บ.." เบอร์เนิร์ส-ลีร่างข้อเสนอของเขาเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2532 และในปี พ.ศ. 2533 ด้วยความช่วยเหลือของโรเบิร์ต ไคลิยู ช่วยปรับร่างโครงการให้ ไมค์ เซนดอลล์ผู้จัดการของเบอร์เนิร์ส-ลีจึงรับข้อเสนอของเขา ในข้อเสนอนี้ เบอร์เนิร์ส-ลีได้ใช้ความคิดเดียวกับระบบเอ็นไควร์มาใช้สร้างเวิลด์ไวด์เว็บ ซึ่งเขาได้ออกแบบและสร้างเว็บเบราว์เซอร์และเอดิเตอร์ตัวแรก (เรียกว่าWorldWideWeb และพัฒนาด้วย NEXTSTEP)และเว็บเซิร์บเวอร์ขึ้น เรียกว่า httpd (ย่อมาจาก HyperText Transfer Protocal Deamon)

เว็บไซต์แรกสุดสร้างขึ้นที่เซิร์น นำขึ้นออนไลน์เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2534 ให้คำอธิบายว่าเวิลด์ไวด์เว็บคืออะไร การที่จะเป็นเจ้าของเบราว์เซอร์ทำได้อย่างไรและจะติดตั้งเว็บเซิร์บเวอร์ได้อย่างไร นอกจากนี้ยังนับเป็นเว็บไดเร็กทอรี่อันแรกของโลกด้วยเนื่องจากเบอร์เนิร์ส-ลีดูแลรายชื่อของเว็บไซต์อื่นๆ ทั้งหมด นอกจากของตนเองด้วย

เบอร์เนิร์ส-ลีเปิดเผยให้ความคิดแก่ทุกคนและทุกองค์กรโดยไม่คิดมูลค่า เขาไม่เคยจดทะเบียนลิขสิทธิ์การค้นคิดของเขาเลย รวมทั้งไม่เรียกค่าตอบแทนหรือรางวัลอื่นใดจากใคร นอกจากเงินเดือนปกติ ดังนั้น กลุ่มบริษัทเวิลด์ไวด์เว็บจึงตัดสินใจไม่คิดมูลค่าใดๆ จากการนำมาตรฐานของกลุ่มบริษัทไปใช้ ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ประกอบการทุกรายยอมรับมาตรฐานเดียวกันได้บนพื้นฐานทางเทคโนโลยี ไม่ใช่พื้นฐานค่าสิขสิทธิ์ถูกหรือแพง” (ที่มา  :  th.wikipedia.org)

ในพ.ศ. 2548 ทิม เบอร์เนิร์ส-ลี ได้รับยกย่องจากนิตยสาร Time ให้เป็น 1 ใน 100 บุคคลที่ทรงอิทธิพลของศตวรรตที่ 20 และในวันที่ 13 มิถุนายน 2550 ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ฝ่ายหน้าจากสมเด็จพระบรมราชินีเอลิซาเบท เป็นการส่วนพระองค์ ซึ่งคนที่ได้รับและยังมีชีวิตอยู่มีเพียง 24 คนเท่านั้น


เว็บไซต์ http://info.cern.chและในปัจจุบันยังสามารถใช้งานได้อยู่ โดยภายในเว็บจะแสดงเนื้อหาบอกเล่าความเป็นมาของการเกิดเว็บไซต์แห่งแรกของโลกขึ้น

วันอังคารที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2557

นวัฒกรรม




CD-ROM

CD-ROM


 แผ่นซีดีรอมเป็นสื่อในการเก็บข้อมูลแบบออปติคอล (Optical Storage) ใช้ลำแสงเลเซอร์ในการอ่านข้อมูล แผ่นซีดีรอม ทำมาจากแผ่นพลาสติกเคลือบด้วยอลูมิเนียม เพื่อสะท้อนแสงเลเซอร์ที่ยิงมา เมื่อแสงเลเซอร์ที่ยิงมาสะท้อนกลับไป ที่ตัวอ่านข้อมูลที่เรียกว่า Photo Detector ก็อ่านข้อมูลที่ได้รับกลับมาว่าเป็นอะไร และส่งค่า 0 และ 1 ไปให้กลับซีพียู เพื่อนำไปประมวลผลต่อไป
ความเร็วของไดรว์ซีดีรอม มีหลายความเร็ว เช่น 2x 4x หรือ 16x เป็นต้น ซึ่งค่า 2x หมายถึงไดรว์ซีดีรอมมี ความเร็วในการหมุน 2 เท่า ไดรว์ตัวแรกที่เกิดขึ้นมามีความเร็ว 1x จะมีอัตราในการโอนถ่ายข้อมูล (Data Tranfer Rate) 150 KB ต่อวินาที ส่วนไดรว์ที่มีความเร็วสูงกว่านี้ ก็จะมีความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูล ตามตาราง
ภายในซีดีรอมจะแบ่งเป็นแทร็กและเซ็กเตอร์เหมือนกับแผ่นดิสก์ แต่เซ็กเตอร์ในซีดีรอมจะมีขนาดเท่ากัน ทุกเซ็กเตอร์ ทำให้สามารถเก็บข้อมูลได้มากขึ้น เมื่อไดรว์ซีดีรอมเริ่มทำงานมอเตอร์จะเริ่มหมุนด้วยความเร็ว หลายค่า ทั้งนี้เพื่อให้อัตราเร็วในการอ่านข้อมูลจากซีดีรอมคงที่สม่ำเสมอทุกเซ็กเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นเซ็กเตอร์ ที่อยู่รอบนอกหรือวงในก็ตาม จากนั้นแสงเลเซอร์จะฉายลงซีดีรอม โดยลำแสงจะถูกโฟกัสด้วยเลนส์ที่เคลื่อนตำแหน่งได้ โดยการทำงานของขดลวด ลำแสงเลเซอร์จะทะลุผ่านไปที่ซีดีรอมแล้วถูกสะท้อนกลับ ที่ผิวหน้าของซีดีรอมจะเป็น หลุมเป็นบ่อ ส่วนที่เป็นหลุมลงไปเรียก “แลนด์” สำหรับบริเวณที่ไม่มีการเจาะลึกลงไปเรียก “พิต” ผิวสองรูปแบบนี้เราใช้แทนการเก็บข้อมูลในรูปแบบของ 1 และ 0 แสงเมื่อถูกพิตจะกระจายไปไม่สะท้อนกลับ แต่เมื่อแสงถูกเลนส์จะสะท้อนกลับผ่านแท่งปริซึม จากนั้นหักเหผ่านแท่งปริซึมไปยังตัวตรวจจับแสงอีกที ทุกๆช่วงของลำแสงที่กระทบตัวตรวจจับแสงจะกำเนิดแรงดันไฟฟ้า หรือเกิด 1 และ 0 ที่ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ ส่วนการบันทึกข้อมูลลงแผ่นซีดีรอมนั้นต้องใช้แสงเลเซอร์เช่นกัน โดยมีลำแสงเลเซอร์จากหัวบันทึกของเครื่อง บันทึกข้อมูลส่องไปกระทบพื้นผิวหน้าของแผ่น ถ้าส่องไปกระทบบริเวณใดจะทำให้บริเวณนั้นเป็นหลุมขนาดเล็ก บริเวณทีไม่ถูกบันทึกจะมีลักษณะเป็นพื้นเรียบสลับกันไปเรื่อยๆตลอดทั้งแผ่น  

ความเร็วในการเข้าถึงข้อมูล (Access Time)
         ความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลคือ ช่วงระยะเวลาที่ไดรว์ซีดีรอมสามารถอ่านข้อมูลจากแผ่นซีดีรอม แล้วส่งไป ประมวลผล หน่วยที่ใช้วัดความเร็วนี้คือ มิลลิวินาที (milliSecond) หรือ msปกติแล้วความเร็วมาตรฐานที่ เป็นของไดรว์ซีดีรอม 4x ก็คือ 200 ms แต่ตัวเลขนี้จะเป็นตัวเลขเฉลี่ยเท่านั้น เป็นไปไม่ได้แน่นอนว่าไดรว์ ซีดีรอมจะมีความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลบนแผ่นซีดีรอมเท่ากันทั้งหมด เพราะว่าความเร็วที่แท้จริงนั้นจะขึ้นอยู่ กับว่าข้อมูลที่กำลังอ่าน อยู่ในตำแหน่งไหนบนแผ่นซีดี ถ้าข้อมูลอยู่ในตำแหน่งด้านใน หรือวงในของแผ่นซีดี ก็จะมีความเร็วในการเข้าถึงสูง แต่ถ้าข้อมูลอยู่ด้านนอกหรือวงนอกของแผ่น ก็จะทำให้ความเร็วลดลงไป

 ชนิดของ CD-ROM
1.       ชนิดที่อ่านข้อมูลได้อย่างเดียว
        ซีดีรอมไดรว์จะมีการบอกเสปคเป็น ”x” เดี่ยวๆ เช่น48 x หรือ52 x ก็จะหมายถึงอ่านข้อมูลได้ที่ความเร็ว 48x และ 52 x ตามลำดับ
2.       ชนิดที่สามารถอ่านและเขียนบันทึกข้อมูลได้
         ซีดีอาร์ไดรว์  CD-R Drive ย่อมาจาก CD Recordable Drive
ซึ่งนอกจากจะอ่านแผ่นซีดีแล้วยังสามารถเขียนบันทึกข้อมูลลงแผ่นซีดีอาร์ CD-R : CD-Recordable ที่เป็นแผ่นซีดีแบบบันทึกข้อมูลอย่างเดียวได้อีกด้วยโดยจะมีการแบ่งสเปคไว้ 2ตัว เช่น 4x24 หมายถึงเขียนข้อมูลได้ที่ 4 x ละอ่านข้อมูลได้ที่ 24x เป็นต้น


3.       ชนิดที่สามารถอ่านบันทึกข้อมูลและลบข้อมูลได้       
        ซีดีอาร์ดับบลิวไดรว์ CD-RW Drive  ย่อมาจาก CD-ReWritable Drive  ที่สามารถอ่านและบันทึกข้อมูลลงแผ่นซีดีอาร์ CD-R อีกทั้งยังเขียนและลบข้อมูลจากแผ่นซีดีอาร์ดับบลิวCD-RW ที่สามารถเขียน และลบข้อมูลได้ เหมือนฮาร์ดดิสก์อีกด้วยซึ่งจะแบ่งสเปคออกเป็น 3 ตัว เช่น12x 12x32xสามารถเขียน CD-R ได้ที่ความเร็ง 12x เขียน CD-RW ได้ที่ความเร็ว 12xและอ่านข้อมูลได้ที่ 32x





DVD-ROM Drive
         ดีวีดี (DVD; Digital Versatile Disc) เป็นแผ่นข้อมูลแบบบันทึกด้วยแสง (optical disc)ที่ใช้บันทึกข้อมูลต่างๆ เช่น ภาพยนตร์ โดยให้คุณภาพของภาพและเสียงที่ดี ดีวีดีถูกพัฒนามาใช้แทนซีดีรอม โดยใช้แผ่นที่มีขนาดเดียวกัน ( เส้นผ่าศูนย์กลาง 12 เซนติเมตร ) แต่ว่าใช้การบันทึกข้อมูลที่แตกต่างกัน และความละเอียดในการบันทึกที่หนาแน่นกว่า เดิมทีดีวีดีมาจากชื่อย่อว่า digital video disc แต่ในภายหลังผู้ผลิตบางรายเห็นว่าควรเปลี่ยนชื่อเป็น digital versatile disc ปัจจุบันตามคำนิยามอย่างเป็นทางการแล้ว DVD ไม่ได้ย่อมาจากชื่อเต็มแต่อย่างใด เครื่องเขียนแผ่นดีวีดี ( DVD Writer ) คือ เครื่องสำหรับการบันทึกข้อมูลลงบนแผ่นดีวีดี
คุณสมบัติของดีวีดี
                      4.1.1 สามารถบันทึกข้อมูลวิดีโอที่ความละเอียดสูงได้ถึง 133 นาที
                      4.1.2 การบีบอัดของวิดีโอในรูปแบบ MPEG-2 นั้นมีอัตราส่วนอยู่ที่ 4 : 0 : 1
                      4.1.3 สามารถมีเสียงในฟิล์มได้มากถึง 8 ภาษา โดยในแต่ละภาษาอาจจะเป็นระบบเสียงสเตอริโอ 2.0 ช่อง (รูปแบบ PCM) หรือ ระบบเสียงรอบทิศทาง (เช่น 4.0, 5.1, 6.1 ช่อง) ในรูปแบบ Dolby Digital (AC-3) หรือ Digital Theater System (DTS)
                      4.1.4 มีคำบรรยาย (Subtitle) ได้มากสูงสุดถึง 32 ภาษา
                      4.1.5 ภาพยนตร์ดีวีดีบางแผ่นนั้น สามารถเปลี่ยนมุมกล้องได้ด้วย (Multiangle)
                      4.1.6 สามารถทำภาพนิ่งได้สมบูรณ์เหมือนภาพสไลด์
                      4.1.7 ควบคุมระดับสิทธิการเล่น (Parental Lock)
                      4.1.8 มีรหัสพื้นที่ใช้งานเฉพาะพื้นที่กำหนด (Regional Codes)

ชนิดของแผ่นดีวีดีที่ใช้บันทึกนั้นมีอยู่ 6 ชนิด คือ
                 4.2.1 DVD-R  
                      4.2.2 DVD+R   
                      4.2.3 DVD-RW   
                      4.2.4 DVD+RW  
                      4.2.5 DVD-R DL   
                      4.26 DVD+R DL

ข้อดีของ DVD-RW และ DVD+RW
 ข้อดีของ DVD-RW และ DVD+RW คือ สามารถนำกลับมาบันทึกใหม่ ได้กว่า 100,000 ครั้ง แต่ดีวีดีที่ได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบันนี้คือ DVD-R ในการบันทึก DVD แต่ละชนิดนั้นไม่สามารถใช้งานข้ามชนิดได้ คือ ไม่สามารถใช้งานข้ามไดร์ฟได้ เช่น DVD-RW ไม่สามารถใช้งานในเครื่องบันทึก DVD+RW ได้ ต้องเขียนกับเครื่องบันทึก DVD-RW เท่านั้น ส่วนการอ่านข้อมูลใน DVD นั้น สามารถอ่านกับเครื่องไหนก็ได้ เช่น DVD+RW สามารถอ่านกับเครื่องเล่นDVD-RW ได้

 เทคโนโลยี HD-DVD
HD DVD ( High Definition DVD หรือ High Density DVD ) เป็นแผ่นข้อมูลแบบบันทึกด้วยแสง ( optical disc ) ที่ใช้บันทึกวิดีโอความละเอียดสูง ( high definition ) หรือข้อมูลชนิดอื่นๆ ก็ได้ HD DVD มีลักษณะใกล้เคียงกับ Blu-ray ซึ่งเป็นแผ่นบันทึกข้อมูลคู่แข่ง โดยใช้ขนาดแผ่นเท่ากับซีดีรอม ( เส้นผ่านศูนย์กลาง 12 ซม. )
ประวัติของ HD DVD
HD DVD ได้รับการสนับสนุนจากบริษัทขนาดใหญ่ในอุตสาหกรรมหลายบริษัท เช่น โตชิบา, NEC, ซันโยไมโครซอฟท์ และอินเทล รวมถึงบริษัทภาพยนตร์อย่าง Universal Studios โตชิบายังได้ออกวางขายเครื่องเล่นแผ่น HD DVD เครื่องแรกเมื่อวันที่ 31 มีนาคม ค.ศ. 2006
ความจุของ HD DVD
HD DVD แบบเลเยอร์เดียวจุข้อมูลได้ 15GB และ 30GB สำหรับแบบสองเลเยอร์ โตชิบาได้ประกาศว่าจะผลิตแผ่นแบบ 3 เลเยอร์ที่จุได้ 45GB ในตัวแผ่น HD DVD สามารถใส่ข้อมูลชนิดดีวีดีแบบเดิม และ HD DVD ได้พร้อมกัน การอ่านข้อมูลใช้เลเซอร์ความยาวคลื่นแสงสีฟ้า (405นาโนเมตร )
ชั้นข้อมูลจะถูกบันทึกถัดไปจากพื้นผิว 0.6 มิลลิเมตรเช่นเดียวกับดีวีดีทั่วไป เทคโนโลยีการบีบอัดข้อมูลวิดีโอคือ MPEG-2, Video Codec 1 และ H.264/MPEG-4 AVC สนับสนุนระบบเสียงแบบ7.1 ในส่วนความละเอียดของภาพนั้นขึ้นกับจอภาพที่ใช้ด้วย แต่สามารถขึ้นได้ที่ความละเอียดสูงสุด 1080p


Memory card


Memory card



Memory Card หรือหน่วยบันทึกข้อมูล ถือเป็นสิ่งจำเป็นในโลกยุคดิจิตอล หน้าที่หลักของหน่วยบันทึกข้อมูลนี้ก็คือใช้ในการเก็บ บันทึกไฟล์ข้อมูลประเภทต่างๆ ทั้งภาพ เสียง วีดีทัศน์ ในอุปกรณ์ Mobile Device หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น กล้องถ่ายรูป หรือ กล้องถ่ายวิดีโอ หรือแม้กระทั่งโทรศัพท์มือถือในทุกประเภท และนับวันอุปกรณ์ Mobile เหล่านี้ ยิ่งมีวิวัฒนาการในการทำงานที่รวดเร็ว และสามารถบันทึกข้อมูลขนาดใหญ่ๆได้ดี ทำให้ต้องการสื่อสำหรับจัดเก็บที่มีขนาดใหญ่ รองรับความเร็วที่สูงขึ้นตามไปด้วย และพบว่าในบางครั้ง อุปกรณ์จัดเก็บไม่สามารถบันทึกข้อมูลได้ทัน ทำให้การทำงานของอุปกรณ์ Mobile Device ต้องค้างนิ่งไปชั่วระยะเวลาหนึ่ง สาเหตุก็มาจากการใช้ Memory card ที่มีอัตราการอ่านเขียนที่ต่ำกว่าปริมาณข้อมูลที่ดำเนินการบันทึก
          Memory Card ในยุคเริ่มแรกอาจจะมีความจุไม่กี่ร้อยเม็กกะไบท์ (MB) แต่ปัจจุบันมีขนาดเกินหลัก GB ไปจนถึง TB แล้ว แต่ขนาดที่นิยมมากในตลาดทั่วๆไป มีตั้งแต่ 2GB, 4GB, 8GB, 16GB, 32GB, 64GB




Compact Flash Card (CF Card)
เป็นหน่วยความจำแบบที่นิยมกันมากที่สุด มีขนาดเล็ก เบา ราคาถูก รวมทั้งยังทนทานเป็นพิเศษ มีความจุตั้งแต่ 8 เมกะไบต์ จนถึง 3 กิกะไบต์ จุดเด่นของ CF card คือ มีความเร็วในการอ่านและเขียนข้อมูลสูง โดย CF card จะมี 2 รูปแบบคือ Type 1 และ Type 2 Type II จะมีความหนามากกว่า  มีความจุมากขึ้น และประมวลผลได้เร็ว มีใช้ในฮาร์ดดิสก์ขนาดจิ๋ว อุปกรณ์ที่นิยมใช้ CF card ส่วนใหญ่จะเป็น กล้องดิจิตอล และ คอมพิวเตอร์พกพา ที่เห็นได้ชัดก็คือ กล้อง Canon จะใช้ CF card เป็นตัวเก็บภาพแทบทุกรุ่น




Multimedia Memory Card (MMC card)
หน่วยบันทึกข้อมูลประเภทนี้เป็นที่รู้จักกันดีในแวดวงของผู้ใช้โทรศัพท์มือถือหรือเครื่องเล่น MP3 มาก่อน แต่ด้วยข้อจำกัดของ MMC card คือ มีราคาค่อนข้างแพง มีความจุไม่ค่อยสูงมากนัก ซึ่งในอนาคตอาจจะถูกแทนที่ด้วยการ์ดหน่วยความจำแบบ SD Card ในไม่ช้า แต่ที่ยังคงมีการใช้งาน MMC Card กันอยู่จนถึงทุกวันนี้ก็เนื่องจาก MMC Card นั้นสามารถนำไปใช้กับอุปกรณ์ที่รองรับ SD Card ได้ด้วย โดยอุปกรณ์ที่นำ MMC Card ไปใช้งานนั้นก็มักจะเป็นอุปกรณ์พกพาขนาดเล็กต่างๆ เช่น โทรศัพท์มือถือ, เครื่องพีดีเอ, เครื่องเล่นเพลง MP3 หรือกล้องดิจิตอล จากที่กล่าวไว้ข้างต้นคือ อุปกรณ์ใดที่มีสล็อตของ SD Card ก็มักจะสามารถนำ MMC Card มาใส่ได้โดยปริยาย เนื่องจากความกว้างและยาวของ MMC Card นั้นเท่ากันกับ SD Card รวมถึงมีขาขั้วต่อ (Pins) รูปแบบเดียวกัน เพียงแต่ MMC Card จะมีความหนาที่น้อยกว่า SD Card อยู่เล็กน้อย

Memory Stick
เป็นหน่วยความจำที่คิดค้นและพัฒนาขึ้นโดย Sony เพื่อใช้กับกล้องดิจิตอล, เครื่องเล่นเพลง, โทรศัพท์มือถือ, เครื่องเล่นเกมส์ PlayStation, VAIO notebook ของค่าย Sony โดยเฉพาะ ซึ่ง sony ได้ทำการพัฒนาออกมาหลายรุ่นด้วยกัน เช่น Memory Stick, Memory Stick Duo (มีระบบป้องกันข้อมูลในส่วนของ Memory Stick MagicGate), Memory Stick with memory selection function Total 256 mb (128 mb x 2), Memory Stick Pro, Memory Stick Pro Duo (มีระบบป้องกันข้อมูลในส่วนของ Memory Stick MagicGate)
ลักษณะของ Memory Stick  มีรูปร่างเป็นแท่งแบนยาว มีขนาด 50 x 21.5 x 2.8 มิลลิเมตร สามารถรองรับการบันทึก/จัดเก็บข้อมูลได้มากถึงระดับ GB ลักษณะเด่นและมีความเร็วในการบันทึกและการถ่ายโอนข้อมูลที่สูงระดับ 1.3 MB ต่อวินาที ซึ่งสูงกว่าหน่วยความ SD card หรือ MMC card แบบธรรมดา  ช่วยให้การเขียนอ่านข้อมูลทำได้ด้วยความรวดเร็วยิ่งขึ้น แต่ Memory Stick ไม่ค่อยได้รับความนิยมในหมู่ผู้ใช้ทั่วไปเท่าใดนัก เนื่องจากราคาที่ค่อนข้างสูง





SD card (Secure Digital Card)
เป็นหน่วยความจำที่พัฒนาร่วมกันโดย Matsushita SanDisk และ Toshiba ถือได้ว่าเป็นหน่วยความจำที่นิยมนำมาใช้กับอุปกรณ์พกพาขนาดเล็กต่างๆ มากที่สุดในหลายประเภทของอุปกรณ์ Mobile Device ไม่ว่าจะเป็น digital cameras , PDAs, GPS receivers และโทรศัพท์มือถือเกือบทุกแบรนด์จะนิยมใช้ SD Card กัน ซึ่ง SD Card นับเป็นสื่อบันทึกข้อมูลที่แพร่หลายกันมากที่สุด มีการผลิตในหลายบริษัท  จะอยู่ภายใต้การกำกับมาตรฐานโดย  SD Association
ด้วยปริมาณความต้องการในการใช้งาน SD Card มีความต้องการความจุที่สูงขึ้น ทำให้มีการกำหนดมาตรฐานรองรับจาก SD Card รุ่น Standard เดิมที่ความจุไม่เกิน 2 GB (Fat 12/16) มาสู่มาตรฐานใหม่อีก 2 มาตรฐานคือ SDHC (Secure Digital High Capacity) ความจุ 2GB-32GB และ SDXC ที่มีความจุ 32 MB-2TB
SD Card ในทุกมาตรฐานจะถูกออกแบบมาใน 3 ขนาด คือ
    1. Full Size SD
    2. MiniSD
    3. MicroSD


รายละเอียดตามตารางด้านล่าง

ปัจจุบันทั้ง MiniSD / MicroSD ได้ถูกนำมาใช้กับอุปกรณ์โทรศัพท์ต่างๆ รวมถึง Tablet PC ในเกือบทุกรุ่น ถือได้ว่า SD Card เป็นหน่วยบันทึกข้อมูลที่นิยมใช้งานมากที่สุด เนื่องจากขนาดที่เล็ก ราคาไม่สูง ใช้งานได้หลากหลาย ใช้ได้กับกล้องถ่ายภาพหลายยี่ห้อ รวมไปถึงโทรศัพท์มือถือ แถมยังมีหลายขนาด ทั้งแบบปกติ, miniSD, microSD เพื่อให้รองรับกับอุปกรณ์แต่ละประเภท
นอกจากนี้การ์ด SD ทั้ง 3 แบบดังที่กล่าวมาในข้างต้นทั้งการ์ด SD ความจุมาตรฐาน , SDHC หรือ High-Capacity, SDXC หรือ eXtended-capacity ก็จะมีคุณลักษณะเฉพาะในความเร็วของการบันทึกหรือการอ่านที่แตกต่างกันไปตามพัฒนาการในแต่ละช่วงปีตามวิวัฒนาการ
ซึ่งการ์ดแต่ละตัวจะมีการบ่งบอกความเร็วของการ์ด ที่เรียกว่า Speed Class ด้วยตัวอักษรตัว C ซึ่งความเร็วเหล่านี้จะมีประโยชน์ในการอ่านข้อมูลในการ์ด หน่วยเป็นจำนวน MB ต่อวินาที สามารถแบ่งออกเป็นระดับต่างๆ  ดังนี้
          Speed Class 2   มีความเร็วในการอ่านข้อมูล   2MB/วินาที
          Speed Class 4   มีความเร็วในการอ่านข้อมูล   4MB/วินาที
          Speed Class 6   มีความเร็วในการอ่านข้อมูล   6MB-12MB/วินาที
          Speed Class 10 มีความเร็วในการอ่านข้อมูล 10MB-25MB/วินาที


          มาตรฐาน Speed Class 10 ไม่เพียงพอต่อเทคโนโลยีการส่งผ่านข้อมูลเพื่อการจัดเก็บที่มีพัฒนาการสูงขึ้น ทำให้ได้มีการกำหนดมาตรฐานเพิ่มเติมที่เรียกว่า UHS Speed Class จะเป็นอักษรตัว U


ลักษณะ pin ด้านหลังของ SD Card ซึ่ง UHS-II จะมี pin interface  2 แถว ในการเลือกใช้ UHS Speed Class นั้น อุปกรณ์ที่ท่านใช้ ต้องรองรับเทคโนโลยีนี้ด้วยเช่นกัน เพราะจะมีส่วนเชื่อมต่อ interface พิเศษ แถวที่ 2 ทำให้การเขียนอ่านที่ความเร็วสูงสุดได้

  
บางบริษัทได้ออกแบบให้ SD Card Class 10 สามารถใช้ร่วมกับมาตรฐาน UHS-I ด้วยความเร็วขั้นต่ำในการอ่านข้อมูลที่ 25MB/วินาที หากใช้เทคโนโลยี UHS-I จะสามารถใช้ความเร็วสูงสุดถึง 104 MB/s
           อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะมีการ์ด SD คุณภาพดีแค่ไหนก็ตาม หากคุณภาพของ Mobile Device ที่ท่านใช้ ไม่ว่าจะเป็น กล้อง หรือคอมพิวเตอร์ หรือ Smartphone ที่ไม่สามารถรองรับการ์ด SD ได้ ก็คงไม่มีประโยชน์อะไร (แต่ส่วนใหญ่ปัจจุบัน มาตรฐานรองรับถึง class 10 แทบทั้งสิ้น







นอกจาก SD Card ที่นิยมใช้ในอุปกรณ์เกือบทุกประเภทแล้ว ก็ยังมีหน่วยบันทึกข้อมูลที่บริษัทผู้ผลิตกล้องพัฒนาขึ้นเอง(ไม่เกี่ยวกับ smartphone) ซึ่งไม่ค่อยแพร่หลายนัก








xD Picture Card (xD Card) เป็นหน่วยความจำที่บางมาก มีใช้ในกล้องดิจิตอลรุ่นเล็กของฟูจิ และโอลิมปัส ถือว่าเป็นสื่อบันทึกข้อมูลน้องใหม่ มีความน่าสนใจ แต่ยังมีใช้ไม่มากนัก จึงมีราคาสูงกว่า SD Card ทั่วไป



Smart Media เป็นต้นแบบของ xD Card เป็นการ์ดแบบบางเช่นกัน แต่มีความจุน้อย ปัจจุบันแทบจะไม่มีกล้องดิจิตอลที่ใช้หน่วยความจำแบบนี้แล้ว