วันอังคารที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2557

ลักษณะแป้นพิมพ์ (แป้นพิมพ์แบบปัตโชติ และแป้นพิมพ์แบบเกษมณี)

     แป้นพิมพ์หรือคีย์บอร์ด   เป็นอุปกรณ์สำหรับนำเข้าข้อมูลของคอมพิวเตอร์   ทำหน้าที่เชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์  โดยส่งคำสั่งหรือข้อมูลจากผู้ใช้ไปสู่หน่วยประมวลผลเพื่อประมวลผล เมื่อกดแป้นพิมพ์แป้นอักษรที่ถูกกดจะเปลี่ยนสัญญาณไฟฟ้าเป็นตัวอักษร  ตัวเลข  หรือสัญลักษณ์เพื่อแสดงผลบนจอภาพ
รูปแบบของแป้นพิมพ์  Keyboard

วิวัฒนาการของแป้นพิมพ์

 แป้นพิมพ์  (Key board) มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าประกอบด้วยตัวอักขระ  ตัวเลข และสัญลักษณ์ต่าง ๆ  คล้ายกับแป้นตัวอักษรบนเครื่องพิมพ์ดีด   แป้นพิมพ์ใน รุ่นแรก ๆ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524  จะมีทั้งหมด  83  คีย์  ต่อมาปี พ.ศ. 2527  จัดตำแหน่งให้เหมาะสมยิ่งขึ้นมีจำนวนแป้น รวม 84  แป้น  และในเวลาต่อมาบริษัทไอบีเอ็มได้ปรับปรุงแป้นอักขระใหม่เป็น 101 คีย์ และปัจจุบันได้พัฒนาเป็น 104 คีย์   เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ระบบปฏิบัติการวินโดวส์
          เครื่องโน้ตบุ๊กจะมีการวางแป้นอักขระต่างจากแป้นพิมพ์ของเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์  คือจะวางติดอยู่กับเครื่องเลยไม่มีลักษณะแยกเป็นชิ้น ๆ และจำนวนแป้นกดก็มีจำนวนน้อยกว่า


การจัดวางแป้นพิมพ์
            การจัดวางตำแหน่งแป้นอักขระแป้นพิมพ์คอมพิวเตอร์แบบมาตรฐาน  จะจัดวางตามมาตรฐานของระบบพิมพ์สัมผัสของเครื่องพิมพ์ดีด  มีการใช้ยกแคร่   กด (Shift)  เพื่อใช้พิมพ์ตัวอักขระภาษาอังกฤษทั้งตัวพิมพ์ใหญ่และตัว พิมพ์เล็ก  ซึ่งจะมีการกำหนดให้แป้นพิเศษแป้นหนึ่งทำหน้าที่สลับเปลี่ยนโหมดการพิมพ์อักขระภาษาอังกฤษและภาษาไทย
          แป้นพิมพ์คอมพิวเตอร์แบบมาตรฐานทั่วไปจะมีการวางตำแหน่งของแป้นกดตามมาตรฐานของแต่ละประเทศ  สำหรับประเทศไทยได้มีการใช้รูปแบบแป้นพิมพ์ตามมาตรฐานของประเทศไทย ซึ่งมีอยู่ 2 แบบ คือ แป้นพิมพ์แบบปัตโชติ  และแป้นพิมพ์แบบเกษมณี


แป้นพิมพ์แบบปัตตะโชติ







แป้นพิมพ์แบบเกษมณี





ส่วนประกอบของแป้นพิมพ์
แป้นพิมพ์  (Keyboard)   ที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันมีมากหมายหลายรูปแบบผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ต่างก็พยายามออกแบบแป้นพิมพ์ที่มีรูปร่าง  แบบหรือสไตล์ที่ทันสมัย   แต่อย่างไรการออกแบบและการวางตำแหน่งของแป้นอักขระก็ยึดหลักการของแป้นพิมพ์มาตรฐานแบบ  104 คีย์   แป้นพิมพ์มาตรฐาน  แบบ 104 คีย์   แบ่งแป้นกดหรือคีย์ออกเป็น 5 กลุ่ม  คือ
1.  กลุ่มแป้นอักขระพิมพ์ดีด   เป็นแป้นกดหรือคีย์ที่ใช้สำหรับพิมพ์ตัวอักษร  ตัวเลข  เครื่องหมาย วรรคตอน และสัญลักษณ์พิเศษ  การวางตำแหน่งของแป้นตัวอักขระพิมพ์ดีดจะวางตามแบบมาตรฐาน  ได้แก่
 แป้นอักษร A-Z      แป้นเครื่องหมายวรรคตอน         แป้นสัญลักษณ์  แป้น Shift   
แป้น Caps Lock   แป้น Tab   แป้น  Enter  แป้น Backspace      
  2.  กลุ่มแป้นควบคุม   คือ แป้นกดที่ใช้ควบคุมการทำงานของโปรแกรม  (Soft ware)      มีดังนี้               แป้น Home             แป้น  Page Down               แป้น Ctrl
แป้น   End               แป้น  Page Up                   แป้น  Alt
แป้น   Insert            แป้น  Delete             แป้น  Esc
3.  กลุ่มแป้นกำหนดการทำงานพิเศษ   เป็นแป้นที่กำหนดขึ้นพิเศษ  จำนวน 12 คีย์
ได้แก่  F1 ….. F12
 4.  กลุ่มแป้นเลื่อนตำแหน่งของ เคอร์เซอร์   แป้นลูกศร  4  อัน  เพื่อใช้เลื่อนเคอร์เซอร์ หรือตัวบอกตำแหน่งการพิมพ์
5.  กลุ่มแป้นเฉพาะตัวเลข    เป็นกลุ่มของคีย์ที่อยู่ทางด้านขวามือแป้นพิมพ์  ซึ่งบรรจุตัวเลข 0 9  และจุดทศนิยม  การจัดวางตำแหน่งของคีย์จะมีลักษณะคล้ายกับแป้นกดของเครื่องบวกเลข   ซึ่งขึ้นอยู่กับโหมดการทำงานของแป้น  Num  Lock   ถ้าแป้น Num  Lock  ถูกกด ON  ไฟแสดงสถานะ  (สีเหลือง)  จะสว่าง   แต่ถ้าไฟสถานะดับ  OFF   จะหมายถึงอยู่ในโหมดของการเลื่อนตำแหน่งของเคอร์เซอร์  โดยการเลื่อนตำแหน่งจะสัมพันธ์กับเครื่องหมายลูกศร  (Arrow ) ที่กำกับอยู่บนแป้นกดนั้น ๆ 





ผังของแป้นพิมพ์
หน้าที่แต่ละแป้นพิมพ์
          แป้นพิมพ์มาตรฐาน  104 คีย์  ที่นิยมใช้กันโดยทั่วไปมีการออกแบบและจัดวางตำแหน่งของแป้นกดออกเป็น  5  กลุ่ม   ซึ่งแต่ละคีย์จะมีหน้าที่  ดังต่อไปนี้
          1.  แป้น Ese ใช้ยกเลิกงานที่กำลังทำอยู่ในขณะนี่ เช่น  ออกจากคำสั่ง  เมนูไดอะล็อกบ๊อกซ์  หรือโปรแกรม
2.  แป้น Caps  Lock   และแป้น  Shift   เป็นแป้นที่ใช้พิมพ์ตัวอักษรชุดที่สองของแป้นอักษรนั้นเหมือนกับการยกแคร่ในเครื่องพิมพ์ดีด  ทำได้โดยการกดแป้น Shift  ค้างไว้พร้อมกับกดแป้นอักษร   ส่วนแป้น Caps  Lock   เมื่อกดแป้นเพียงครั้งเดียวจะค้างไว้ตลอด  ถ้าต้องการยกเลิกให้กดซ้ำอีกครั้ง  มีการทำงาน 2 สถานะ คือ เปิด (ON)  และถ้ากดซ้ำอีกครั้ง (OFF)  ไฟสถานะจะดับ    
3.  แป้น Nom Lock   เป็นแป้นที่ใช้เป็นสวิตซ์  การทำงานของแป้นเฉพาะตัวเลข   มีการทำงาน 2 สถานะ คือ เปิด (ON)  และปิด (OFF)
4.  แป้น  Spacebar   หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า คานเว้นวรรค  ใช้สำหรับกำหนดช่องว่างระหว่างตัวอักษร หรือเว้นวรรคตัวอักษร   
5.  แป้น  Delete  เป็นแป้นที่ใช้ลบตัวอักขระที่อยู่ทางด้านขวาของเคอร์เซอร์    ถ้ากดแป้น Delete  นานเท่าดา    ตัวอักขระก็จะถูกลบออกไปมากเท่านั้น
6.  แป้น Backspace   แป้นพิมพ์คอมพิวเตอร์โดยทั่วไปจะมีแป้นกด ที่ใช้ลบตัวอักขระอยู่ 2 แป้น คือ  Delete และ  แป้น Backspace   แป้น Backspace  ใช้ลบตัวอักขระที่อยู่ทางด้านซ้ายของเคอร์เซอร์   ถ้ากดแป้น Backspace นานเท่าใด  ตัวอักขระก็จะถูกลบออกไปมากเท่านั้น   (แป้นพิมพ์บางยี่ห้อจะไม่พิมพ์คำว่า Backspace แต่จะใช้สัญลักษณ์ลูกศรชี้ไปทางซ้าย )
7.  แป้น Ctrl  และแป้น ALT    เป็นแป้นพิเศษที่ใช้ร่วมกับแป้นอักษรอื่นเพื่อเรียกใช้คำสั่งลัด  เช่น  ถ้าต้องการบันทึกแฟ้มข้อมูลเพื่อเก็บลงในดิสก์ จะต้องกดแป้น  Ctrl  และแป้นอักษร S
8.  แป้น Enter  เป็นแป้นที่สามารถบอกให้เครื่องคอมพิวเตอร์รับเอาข้อมูลและงานต่าง ๆ ของเราเข้าไปประมวลผลในหน่วยประมวลผลกลาง  ถ้าเรากดแป้น  Enter  จะเป็นการเพิ่มบรรทัดหรือการขึ้นย่อหน้าใหม่
9.  แป้น  Arrow   หรือ แป้นลูกศรใช้สำหรับเลื่อนตำแหน่งของเคอร์เซอร์  ไปยังตำแหน่งต่าง ๆ บนหน้าจอ
10. แป้น Function  โดยปกติจะมีหมายเลขจาก 1 ถึง 12  ( F1  …. F12 )  เป็นแป้นที่ใช้กำหนดหน้าที่การทำงาน เช่น F1  ในโปรแกรมส่วนใหญ่จะกำหนดให้เป็นแป้นสำหรับของความช่วยเหลือ  โดยโปรแกรมจะสร้างข้อความเพื่อช่วยเหลือในการทำงาน    
 11.  แป้น Window  เป็นแป้นที่มีสัญลักษณ์  โลโก้ของวินโดวส์พิมพ์กำกับอยู่บนแป้นวินโดวส์  ใช้สำหรับเปิด หรือเรียกใช้งานเมนู Start  ในโปรแกรม Window ขึ้นมาใช้งานอย่างรวดเร็วแทนที่จะใช้เมาส์เลื่อนไปคลิกปุ่ม  Start ที่อยู่มุมซ้ายด้านล้างของจอภาพ
12.  แป้น Application  เป็นแป้นที่ใช้สำหรับเรียกคำสั่งลัดในโปรแกรม Window ขึ้นมาแสดงบนจอภาพอย่างรวดเร็วแทนที่จะคลิกขวาเพื่อเรียกใช้คำสั่งลัด  แป้น Application   มักจะมีตำแหน่งอยู่ทางด้านขวาของแป้น Space Bar  
13.  ปุ่ม Programmable  แป้นพิมพ์คอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ ๆ ในปัจจุบันจะมีปุ่ม Programmable  เพื่อให้ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์เรียกใช้งานหรือคำสั่งตามโปรแกรมที่ระบุได้โดยตรงและรวดเร็ว  เช่น  Internet  จะใช้ในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต   แป้น Mail  จะใช้ในการรับ ส่งอีเมล์   แป้น Music  จะใช้สำหรับฟังเพลงเป็นต้น









1 ความคิดเห็น:

  1. ขอบคุณสำหรับความรู้ครับ
    เนื้อหาครบทุกองค์ประกอบจริงๆ

    ตอบลบ